Rolex ได้ชื่อว่าเป็นพวกที่ทำอะไร “เกินมาตรฐาน” ซึ่งท่านคงอ่านผ่านตาในกระทู้ต่าง ๆ ของ EXPERT ที่ตอบไปพอสมควรแล้ว Rolex จะไม่ทำอะไรแค่พอผ่าน ๆ ออกมาจำหน่ายในตลาดอย่างเด็ดขาด ดังนั้น หากมีรายละเอียดหรือวัสดุที่ทำให้คุณรู้สึก “สงสัย” นั่นคือ คุณอาจเจอ
ของปลอมเข้าให้แล้ว !!
ต่อไปนี้ เป็นข้อสังเกตบางประการที่เปรียบเทียบระหว่าง Rolex แท้กับของปลอม ซึ่งเราจะต้องเข้าใจไว้ก่อนว่า มูลค่าตลาดของปลอมนั้นมหาศาล จึงจูงใจให้เทคโนโลยีในการปลอมสูงขึ้นและดีขึ้นเรื่อย ๆ ข้อผิดพลาดหลายจุดที่เขียนไว้นี้อาจใช้ไม่ได้กับนาฬิกาปลอมระดับ A บางรุ่น อย่างไรก็ตามหากคุณได้สัมผัสและคุ้นเคยกับ Rolex แท้บ่อย ๆ เข้าคุณจะสามารถสังเกตเห็นความแตกต่างได้โดยไม่ยากนัก
- น้ำหนัก Rolex แท้ทุกเรือนจะผลิตด้วยเหล็กกล้าอย่างดี (904 L) ถ้าเป็นสีทองก็จะเป็นทองแท้ 18 K หรือ แพลตตินั่ม ซึ่งจะทำให้มีนำหนัก หนักเป็นพิเศษ ในขณะที่ของปลอมจะทำด้วยเหล็กที่มีคุณภาพ
ต่ำกว่า ทำให้มีน้ำหนักเบากว่าด้วย
- สีสัน ของแท้โดยเฉพาะสีทอง 18 K จะมีความเงางามและงดงาม ซึ่งจะต่างจากของปลอมที่จะใช้
ทอง 14 K หรือชุบทองจึงให้ทำมีสีเหลืองจัดจ้านเกินไปหรือออกสีโทนส้ม และ/หรือ เงาเกินไป - การเคลื่อนไหวของเข็มวินาที (กรณีไม่ใช่ระบบคว็อตซ์) ของแท้จะมีการเคลื่อนไหวที่ราบรื่นกว่า
ด้วยความถี่ประมาณ 5-8 ครั้งต่อวินาทีจึงดูราบเรียบไม่กระตุกเหมือนกับของปลอมที่จะทำความถี่
ได้เพียง 3-4 ครั้งต่อวินาทีเท่านั้น - ฝาหลัง จำไว้ว่า Rolex ไม่เคยผลิตนาฬิกาหลังเปลือย (ฝาหลังเป็นกระจก) นี่คือข้อผิดพลาดที่เห็นง่ายที่สุดของนาฬิกา Rolex ปลอม
- Marking ที่ฝาหลัง Rolex ส่วนใหญ่จะไม่มี Logo และเลขรุ่นหรือข้อมูลใด ๆ สลักอยู่บนฝาหลัง ยกเว้นบางรุ่นดังนี้
1 Rolex ของผู้หญิงบางรุ่นที่ผลิตก่อนทศวรรษที่ 90ซึ่งจะมีคำว่า Original Rolex Design หรือคล้าย ๆ กัน แกะสลักเป็นแนวโค้งตามขอบตัวเรือน รวมถึง Rolex รุ่นเก่า ๆ บางรุ่นที่อาจมี Logo รูปมงกุฎ อยู่ด้านบน และ/หรือ Serial no. อยู่ด้านล่างของฝาหลัง
2 รุ่น Sea-Dweller ที่มีคำว่า “ROLEX OYSTER ORIGINAL GAS ESCAPE VALVE”
3 รุ่น Submariner และ Sea-Dweller Comex ซึ่งแกะสลักคำว่า Rolex และ COMEX พร้อมด้วยตัวหนังสือ 2 , 3 หรือ 4 หลัก (รุ่นนี้เป็นรุ่นที่นักสะสมต้องการและมีการปลอมกันมากในต่างประเทศ)
นาฬิกาปลอมส่วนใหญ่มักจะนิยมแกะสลัก Logo รูปมงกุฎ เลขรุ่น รวมทั้ง serial no. ไว้บนฝาหลังเพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ แต่แท้จริงแล้ว Rolex จะไม่ทำลวดลายใด ๆ และจะมีฝาหลังเกลี้ยง ๆ เป็นส่วนใหญ่
- สติ๊กเกอร์ที่ฝาหลังของแท้จะเป็นลาย hologram ซึ่งจะดูสวยงามและเป็นลักษณะ 3 มิติ มีรุปมงกุฎอยู่ตรงกลางเหนือ เลขรุ่น อย่างไรก็ตามเมื่อใส่ไปนาน ๆ ตัวลาย hologram จะจางหายไปและอาจเหลือเพียงร่องรอยของตัวมงกุฎและเลขรุ่นเท่านั้น sticker ของปลอม จะเลียนแบบไม่ได้เหมือนของจริง กล่าวคือลายจะดูเรียบ ๆ ไม่เป็นสามมิติ รวมทั้งเลขรุ่นมักจะไม่ค่อยตรงกับข้อเท็จจริง
- กระจก Rolex จะใช้กระจก แซฟไฟร์ (รุ่นเก่าก่อนปี 1991 อาจจะมีเป็นเซลลูลอยด์) ในขณะที่ของปลอมถ้าใช้กระจกธรรมดาจะสังเกตุได้ง่ายคือ บริเวณขอบกระจกที่ยื่นขึ้นมาจากของหน้าปัด(Beveled edge) เราจะมองเห็นเป็นสีกระจกออกเขียว หรือขาวขุ่น ขณะที่ของแท้เราจะเห็นเป็นสีเรียบใส นอกจากนี้เรามีวิธีทดสอบง่าย ๆ ว่ากระจกเป็นแซฟไฟร์ หรือไม่ ทำได้โดยการหยดน้ำลงบนกระจก ถ้าน้ำรวมตัวกันเป็นก้อนแสดงว่าเป็นแซฟไฟร์ แต่ถ้าน้ำไม่รวมตัวกันแสดงว่าเป็นกระจกธรรมดา
- ตัวเลนส์ขยายดูวันที่ ของแท้จะมีกำลังขยายถึง 2.5 เท่า ทำให้เราสามารถอ่านวันที่ได้ง่ายชัดเจนเต็มหน้าจอ ซึ่งคุณจะสังเกตุเห็นความแตกต่างของขนาดตัวเลขวันที่ จากการมองผ่านเลนส์กับมองโดยไม่ผ่านเลนส์
ของปลอมส่วนใหญ่จะสามารถขยายได้เพียง 1.5 เท่า ทำให้ตัวเลขดูเล็กกว่า อีกทั้งการจัดวางตำแหน่งทั้งตัวเลนส์และตัวเลข ยังทำได้ไม่ค่อยดีด้วย
- พรายน้ำนับตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมา Rolex ได้เปลี่ยนการใช้พรายน้ำจาก Tritium มาเป็น Super Luminova ซึ่งมีความสว่างกว่าเดิมถึง 10 เท่า Super Luminova จะมีคุณสมบัติที่ดีคือไม่มีอายุการใช้งาน (ซึ่งแต่เดิม tritium จะมีอายุใช้งานประมาณ 12 ปี) และจะทำงานโดยการชาร์ตกับแสงไฟ ไม่ว่าจะเป็นแสงจากหลอดไฟ หรือแสงอาทิตย์ดังนั้น หากเป็นนาฬิกาที่ผลิตตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมา หากคุณพบว่าพรายน้ำไม่สว่าง ขอให้ตั้งข้อสังเกตว่าเป็นของปลอมหรือไม่ก็เป็นของแท้ที่มีปัญหา
- ยางมะยม Triple lock ที่ใช้กับรุ่น Submariner, Sea Dweller และ Daytona เมื่อเราคลายเกลียวดึงมะยมออกมา จะเห็นยางเส้นเล็ก ๆ อยู่ ซึ่งตรงนี้ ของปลอมส่วนใหญ่จะละเลยไป
- การหมุนมะยม เมื่อคลายเกลียวออกมาในตำแหน่งที่ 1 เพื่อการไขลาน หากมีความรู้สึกไม่แน่นหรือไม่ราบเรียบ หรือมีเสียงผิดปกติ ก็จะเป็นข้อสังเกตอีกอย่างว่านาฬิกาไม่ได้คุณภาพ
- Hacking Feature คือเมื่อเราดึงมะยมออกมาในตำแหน่งที่ 2 สำหรับการตั้งเวลา เข็มวินาทีจะต้องหยุดเดิน ซึ่งระบบนี้เรียกว่า Hacking Feature ซึ่ง Rolex คิดค้นขึ้นมาใช้เมื่อตอนต้น ทศวรรษที่ 70 ดังนั้น หากเป็นนาฬิกาที่ผู้ขายอ้างว่าเป็นนาฬิกา Vintage ผลิตก่อนปี 1970 เมื่อดึงมะยมออกมาตั้งเวลา หากเข็มนาทีหยุด แสดงว่าเป็นของปลอม ในทางกลับกัน หากเป็นนาฬิกาหลังยุค 70 หากดึงมะยมออกมาตำแหน่งตั้งเวลาแล้วเข็มวินาทียังเดินอยู่แสดงว่าเป็นของปลอมเช่นเดียวกัน
- วันที่ ตัวเลขแสดงวันที่ ทุกตัวตั้งแต่ 1 ถึง 31 จะต้องคมชัดและวางตำแหน่งอยู่ตรงจุดกึ่งกลางของหน้าต่างเลนส์ขยาย ซึ่งตรงนี้ดูเหมือนง่าย แต่แท้ที่จริงแล้ว ทำได้ยากซึ่งของปลอมมักจะไม่สามารถทำได้ คุณควรหมุนดูวันที่ให้ครบถ้วนมากที่สุด หากมีตัวเลขตัวหนึ่งหรือหลายตัวอยู่ชิดข้างใดข้างหนึ่งมากเกินไป นั่นแสดงว่าน่าจะเป็นของปลอม อีกประการหนึ่ง พื้นสีของปลอมมักจะออกสีขาวอมเหลือง (Off-White)
- Quick set & Double quick set Feature ในยุคก่อนที่จะปรับตั้งวันหรือวันที่ด้วยมะยมได้ นาฬิกาจะเปลี่ยนวันที่โดยการหมุนของเข็มเวลาผ่านเวลาเที่ยงคืนเท่านั้น ระบบ Quick set เกิดขึ้นเพื่อความสะดวกให้ผู้ใช้สามารถตั้งวัน และวันที่ ผ่านทางมะยม ซึ่งระบบ Quick set (ตั้งวันที่) ถูกนำมาใช้ตั้งแต่ปี 1970 ส่วน Double quick set (ตั้งวัน และวันที่) เริ่มนำมาใช้เมื่อตั้งแต่ปลายปี 1990สิ่งที่เราควรตรวจสอบก็คือ ทดลองหมุน ตั้งวันและวันที่ หากการเปลี่ยนมีการกระตุก หรือติดขัด หรือหมุนแล้วรู้สึกหลวม ๆ ไม่ค่อยเคลื่อนตัว แสดงว่าเป็นของปลอม หรือ เป็นของแท้ที่มีปัญหาสภาพไม่ดี
- ฟังก์ชั่นพิเศษต่าง ๆ นาฬิกาที่ทำเลียนแบบส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเคร่งครัดเรื่องฟังก์ชั่นพิเศษต่างๆ ให้เหมือนกับของจริง ตัวอย่างเช่น รุ่น Daytona จะมี 3 หน้าปัดย่อย กล่าวคือที่ตำแหน่ง 3 นาฬิกาจะคำนวณจับเวลาเป็นนาที ตรงตำแหน่ง 9 นาฬิกาบอกชั่วโมง แต่ที่บริเวณเลข 6 นาฬิกาจะไปหน้าปัดย่อยพร้อมด้วยเข็มวินาทีที่เดินตามปรกติซึ่งจะต้องหมุนเดินทันทีเมื่อมีการขึ้นลานแล้ว ส่วนเข็มวินาทีที่ใช้จับเวลาจะเป็นเข็มใหญ่ที่อยู่ด้านบนสุดเหนือเข็มนาที ซึ่งเราจะต้องเช็คฟังก์ชั่นต่าง ๆ เหล่านี้ เช่นเมื่อกดปุ่มจับเวลา เข็มนาทีใหญ่ด้านบนสุดจะต้องเริ่มทำงานและเข็มที่หน้าปัดย่อยก็จะต้องเดินตามฟังก์ชั่นด้วย
- Marking บนหน้าปัด ของปลอมจะมีคุณภาพการพิมพ์ด้อยกว่า ซึ่งสามารถเห็นได้โดยแว่นขยาย ถ้าส่องดูจะพบรอยขีดข่วนบนหน้าปัด ฝุ่นละออง จุดหรือ คราบเล็กๆบนตัวหนังสือขนาดตัวหนังสือ รวมทั้ง Font ที่ใช้ จะแตกต่างจากของจริง
- ขอบหน้าปัด (Bezel) รุ่นที่เป็นนาฬิกา Sport เช่นSubmariner, Sea-Dweller และ GMT ตัวขอบหน้าปัดที่มีสเกลจะหมุนได้แน่นแต่ราบรื่น (มี 120 คลิก หรือ 2 คลิก ต่อ 1 วินาที) ของปลอมจะมีลักษณะหลวมหรือ แน่นเกินไปเสียงที่หมุนจะดังกว่า และมีเพียง 60 คลิกเท่านั้น
- One way Gas escape Valve รุ่น Sea-Dweller จะมีช่องวงกลมเล็กๆอยู่ตรงข้ามเม็ดมะยมซึ่งทำหน้าที่ปล่อยอากาศเพื่อลดแรงดันในเวลาที่อยู่ภายใต้สภาพแรงกดดันเมื่อดำน้ำลึก ซึ่งของปลอมส่วนใหญ่จะไม่มี Valve นี้อยู่ให้เห็น
- Micro-Etching Rolex ที่ผลิตตั้งแต่ปี 2002 เป็นต้นมา จะมี Logo รูปมงกุฎที่เล็กมากอยุ่บนตำแหน่ง 6 นาฬิกา และเช่นเคยของแท้จะมีลักษณะสวยงามคมชัด และสัดส่วนที่ถูกต้อง
- หมายเลขรุ่น (Case Reference Number) ที่บริเวณด้านข้างตัวเรือนที่ตำแหน่ง 12 นาฬิกา จะมีตัวเลขแกะสลัก ซึ่งเมื่อถอดสายออกจากตัวเรือนก็จะสามารถมองเห็นได้ ซึ่งจะทำให้สามารถเทียบเคียงสิ่งที่บอกไว้ตามตัวเลขกับนาฬิกาจริงตรงกันหรือไม่ กล่าวคือ Rolex ในยุคก่อน 80 จะมีตัวเลข 4 หลัก แกะสลักไว้ จนกระทั่งประมาณปี 1985 จึงเริ่มมีตัวเลข 5 หลักอย่างเป็นระบบเพื่อบอกลักษณะนาฬิกาบางประการดังนี้
ตัวเลข 3 หลักแรก จะบอกถึง รุ่น หรือ collection นาฬิกาเรือนนั้น
ตัวเลข หลักที่ 4 จะบอกถึง ประเภทของขอบหน้าปัด (Bezel)
ตัวเลข หลักที่ 5 จะบอกถึง วัสดุที่ใช้
ตัวอย่างเช่น รุ่น 16233 162 หมายถึง รุ่น Datejust
3 หมายถึง Fluted Bezel
3 ตัวท้าย หมายถึง สแตนเลสกับทอง
- จนถึงปี 2000 ได้เปลี่ยนเป็น 6 หลักอีก โดยเพิ่มเลข 1 เข้าไปด้านหน้า เช่น Daytona รุ่น 16523 ก็เป็น 11652
สุดท้ายนี้ หายเพื่อนสมาชิก ต้องการข้อมูล ข้อมูลยี่ห้ออื่น โพสไว้เดี๋ยวผมนำมาลงให้ครับ